yongyuthyang.blogspot.com

วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ระเบียบฯ การมอบรางวัล

ระเบียบสมาคมสร้างสรรค์พัฒนาม้งในประเทศไทย

เรื่อง การมอบรางวัล ประกาศเกียรติคุณ หรือเข็มสมาคมแก่ผู้ทำคุณประโยชน์

.. 2546

เพื่อเป็นการเชิดชู และยกย่องบุคคลที่ทำคุณประโยชน์แก่สังคม ประเทศชาติอันเป็นการสนับสนุนผู้ทำความดี คณะกรรมการบริหารสมาคมสร้างสรรค์และพัฒนาม้งในประเทศไทย จึงได้มีการประชุมกันเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2546 และมีมติให้ประกาศใช้ระเบียบสมาคมสร้างสรรค์และพัฒนาม้งในประเทศไทย เรื่อง การมอบรางวัล ประกาศเกียรติคุณ หรือเข็มสมาคมแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ พ.. 2546 ดังนี้

ข้อ 1. ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบสมาคมสร้างสรรค์และพัฒนาม้งในประเทศไทย เรื่อง การมอบรางวัล ประกาศเกียรติคุณ หรือเข็มสมาคมแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ พ.. 2546"

ข้อ 2. ในระเบียบนี้

2.1 "รางวัล" หมายถึง "เงิน สิ่งของ ที่สมาคมได้จัดเตรียมไว้มอบแก่ผู้ที่ทำคุณประโยชน์เพื่อสังคม"

2.2 "ประกาศเกียรติคุณ" หมายถึง "ข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นการยกย่อง ขอบคุณ แก่ผู้ที่ได้ทำคุณประโยชน์เพื่อสังคม โดยทำไว้เป็นเอกสาร หรือโลหะอย่างใดอย่างหนึ่ง"

2.4 "เข็มสมาคม" หมายถึง "วัตถุซึ่งสมาคมจัดทำขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการประกอบคุณงามความดีที่เกิดประโยชน์แก่บุคคลอื่น ชุมชน หมู่บ้าน สังคม สาธารณ หรือประเทศชาติ"

2.5 "ผู้ทำคุณประโยชน์เพื่อสังคม" หมายถึง "ผู้ที่คณะกรรมการได้พิจารณาว่าได้ทำ หรือเคยทำกิจกรรมอันก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่บุคคลอื่น ชุมชน หมู่บ้าน สังคม สาธารณ หรือประเทศชาติ"

2.6 "คณะกรรมการ" หมายถึง "คณะกรรมการสรรหาบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ตามระเบียบนี้"

ข้อ 3. ให้มีคณะกรรมการชุดหนึ่งเพื่อทำหน้าที่สรรหาบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ตามระเบียบนี้ โดยให้มีกรรมการจำนวน 5 - 11 คน ซึ่งประกอบด้วย

3.1 นายก หรือรองนายกที่มอบหมายเป็นประธาน

3.2 ผู้อำนวยการสมาคม เป็นกรรมการและเลขานุการ

3.3 กรรมการสมาคมที่คณะกรรมการสมาคมมีมติจำนวน 3 คน เป็นกรรมการ

3.4 ผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะกรรมการสมาคมมีมติจำนวน ไม่เกิน 6 คน เป็นกรรมการ โดยให้มีสัดส่วนของผู้หญิงและผู้ชายเท่ากัน หรืออย่างน้อยต้องมีผู้หญิง 2 คน

ข้อ 4. การประชุมของคณะกรรมการต้องมีผู้เข้าร่วมประชุมเกินกึ่งหนึ่งของคณะกรรมการทั้งหมดจึงจะถือเป็นองค์ประชุม

ข้อ 5. ให้คณะกรรมการไปทำการสรรหาบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์และคัดเลือกบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์เพื่อเสนอขอรับรางวัล ประกาศเกียรติคุณ หรือเข็มสมาคมจากสมาคม และให้มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ รูปแบบ วิธีการสรรหาบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์โดยไม่ขัดต่อระเบียบนี้ โดยให้ออกเป็นประกาศคณะกรรมการ

เพื่อประโยชน์แห่งการนี้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นเพื่อทำหน้าที่ได้ตามความเหมาะสม เมื่อคณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วให้เสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณานำเสนอต่อสมาคมเป็นการต่อไป

ข้อ 6. ในแต่ละปี สมาคม อาจพิจารณามอบรางวัล ประกาศเกียรติคุณ หรือเข็มสมาคมให้แก่บุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ในด้านต่างๆ ตามข้อ 5. ดังนี้

6.1 การบริการชุมชน สังคม

6.2 การประกอบพิธีกรรมตามประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา หรือความเชื่อ

6.3 การศึกษา

6.4 การสาธารณสุข หรือสมุนไพร

6.5 สิ่งแวดล้อม

6.6 สตรี

6.7 เยาวชน

6.8 อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการประกาศเพิ่มเติม

ข้อ 7. บุคคลที่จะได้รับการพิจารณาตามข้อ 6. ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

7.1 เป็นผู้ที่มีความเสียสละอย่างจริงจัง เป็นแบบอย่างและมีผลงานประจักษ์ชัดแจ้งต่อสาธารณชนในด้านนั้นๆ

7.2 เป็นผู้ที่มีความรอบรู้ ในด้านนั้นๆ

7.3 เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากบุคคลอื่นในด้านนั้นๆ

7.4 เป็นผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ และมีชื่อ นามสกุล ภูมิลำเนาที่อยู่ปรากฏเป็นที่แน่นอน ทั้งนี้ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไทยหรือต่างประเทศ

7.5 เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนดเพิ่มเติม

ข้อ 8. สมาคม อาจยกเลิก เพิกถอน หรือเรียกคืนรางวัล ประกาศเกียรติคุณ หรือเข็มสมาคมจากผู้ที่ได้รับถ้าหากปรากฏในภายหลังว่ามิได้มีคุณสมบัติเป็นไปตามระเบียบนี้หรือที่คณะกรรมการกำหนด และหากเป็นไปโดยเจตนาก่อให้เกิดความเสียหายต่อสมาคม สมาคมอาจฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการนี้ก็ได้

ข้อ 9. บุคคล นิติบุคคล หรือองค์กรอื่นใดที่บริจาคทรัพย์เพื่อการสาธารณประโยชน์หรือเพื่อการอื่นใดในลักษณะเดียวกันนี้โดยมอบผ่านสมาคม หรือมอบให้ไว้แก่สมาคม สมาคมอาจมอบรางวัล ประกาศเกียรติคุณ หรือเข็มสมาคมให้ไว้เพื่อเป็นการขอบคุณและประกาศถึงเกียรติคุณแก่ผู้นั้น ทั้งนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด

ข้อ 10. เฉพาะแต่การให้รางวัลตามระเบียบนี้ ให้สำนักงานสมาคมมีอำนาจดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอขอต่อคณะกรรมการ ในกรณีดังต่อไปนี้

10.1 เพื่อการระดมทุนเพื่อการสาธารณประโยชน์ หรือการงานของสมาคม

10.2 เพื่อมอบไว้ให้แก่ผู้ที่ผ่านการอบรม สัมมนา ตามหลักสูตรต่างๆ

10.3 เพื่อมอบไว้ให้แก่ผู้ที่ได้เอื้ออำนวย หรือช่วยเหลือกิจกรรมของสมาคมที่สมาคมได้จัดขึ้น

10.4 เพื่อการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการกำหนด

ประกาศ ณ 22 พฤศจิกายน 2546

ลงชื่อ ประจักษ์ อนันต์วิไล

(นายประจักษ์ อนันต์วิไล)

นายกสมาคม




 

สมาคมม้ง
201 หมู่ 5 ต.ลวงเหนือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ 50220
โทรศัพท์/โทรสาร 053292230 อีเมล์ hmongmdt@hotmail.com
เวบไซด์ www.hmongthai.webs.com


วิสัยทัศน์
สมาคมสร้างสรรค์และพัฒนาม้งในประเทศไทยเป็นกลไกประสาน ส่งเสริม และพัฒนาให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและเท่าเทียมกันบนพื้นฐานเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองและช่วยเหลือสังคมได้

ภารกิจ
หนุนเสริมและสร้างกระบวนการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชนโดยชุมชน และเพื่อชุมชน

ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างระบบการบริหารจัดการที่ดี
แผนงานและโครงการ
 1) พัฒนาศักยภาพองค์กร
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
2.       เพื่อให้เป็นที่ยอมรับ
3.       เพื่อสามารถตอบสนองต่อปัญหาและสถานการณ์ปัจจุบัน
กิจกรรม
1.       จัดโครงสร้างองค์กร
2.       ทำหนังสือคู่มือ และระเบียบการปฏิบัติงาน
3.       ประเมินผลองค์กร

2) พัฒนาบุคลากร
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
2.       เพื่อให้เป็นที่ยอมรับ
3.       เพื่อสามารถแก้ไขปัญหา และสร้างสรรค์งานพัฒนาได้
กิจกรรม
1.       จัดอบรม สัมมนา เรื่องอินเตอร์เน็ท เทคนิคการจัดกิจกรรม ภาษาอังกฤษฯลฯ
2.       ศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ
3.       ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร และสารสนเทศ
แผนงานและโครงการ
1) ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อรวบรวม และจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ
2.       เพื่อพัฒนาข้อมูลให้สามารถนำไปใช้ได้
กิจกรรม
1.       ทำเวปไซด์สมาคม
2.       จัดระบบข้อมูล ข่าวสาร
3.       จัดห้องสมุด

2) เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร
2.       เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
กิจกรรม
1.       ทำวารสาร จดหมายข่าว
2.       ทำสื่อความรู้ต่าง ๆ เช่น เทป วีดีโอ แผ่นพับ หนังสือ เป็นต้น
3.       ออกอากาศรายการวิทยุ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างรากฐานทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมให้เข้มแข็ง
แผนงานและโครงการ
1) ส่งเสริมการศึกษา
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อให้ชนเผ่าสามารถอ่านออกเขียนหนังสือได้
2.       เพื่อให้ชนเผ่ามีโอกาสเข้ารับการศึกษาในสถาบันการศึกษา หรือสำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษามากขึ้น
กิจกรรม
1.       ให้ทุนการศึกษา
2.       กิจกรรมนักเรียน นักศึกษา
3.       หอพักนักเรียน
4.       แนะแนวการศึกษา
5.       ศูนย์ข้อมูลการศึกษา
2) อนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อรักษาสภาพป่า และเพิ่มจำนวนพื้นที่ป่าไม้
2.       เพื่อบริหารจัดการและควบคุมปัญหาป่าไม้และสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในสภาพที่ดียิ่งขึ้น
กิจกรรม
1.       ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ
2.       จัดทำมาตรการในการบริหารและการจัดการป่าชุมชน เช่น กฎระเบียบป่าชุมชน ให้มีพิธีกรรมทางศาสนาหรือความเชื่อที่สำคัญ สัญลักษณ์แสดงถึงป่าหรือธรรมชาติตามจารีตประเพณี แนวกันไฟ ดงเซ้ง เป็นต้น
3.       จัดอบรม สัมมนา และดูงานด้านสิ่งแวดล้อม
4.       แผนงานและโครงการ

3) ส่งเสริมการเกษตรพอเพียงและปลอดสารพิษ
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อลดต้นทุนทางการเกษตร
2.       เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคภัยอันเกิดจากสารพิษเคมี
กิจกรรม
1.       จัดอบรม สัมมนา ดูงานด้านการเกษตรพอเพียง และปลอดสารเคมี
2.       ศูนย์สาธิตการเกษตรพอเพียง

4) ส่งเสริมอาชีพ และจัดตั้งกองทุนหมุนเวียน
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อเพิ่มพูนรายได้
2.       เพื่อสร้างอาชีพใหม่ ๆ
3.       เพื่อเพิ่มพูนกำลังในการประกอบอาชีพแก่ชนเผ่า
กิจกรรม
1.       ศูนย์จำหน่ายผลิตผลของม้ง
2.       กองทุนหมุนเวียน
3.       จัดอบรมอาชีพ

5) ส่งเสริมสุขภาพ
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้แลกเปลี่ยนทางอนามัยสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม
2.       เพื่อให้ชนเผ่ามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และสามารถดูแลตัวเองได้ในยามเจ็บไข้ได้ป่วย
กิจกรรม
1.       รณรงค์ป้องกันเอดส์
2.       รณรงค์ป้องกันยาเสพติด
3.       ผลิตสื่อความรู้สุขอนามัย
4.       จัดอบรม สัมมนาด้านสุขอนามัย

6) พัฒนาศักยภาพผู้นำ
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อพัฒนาผู้นำให้มีความรู้ และทักษะในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชน
2.       เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์และองค์ความรู้ใหม่แก่ผู้นำ
กิจกรรม
1.       จัดอบรม สัมมนา และดูงานแก่ผู้นำชุมชน (คำนึงถึงสัดส่วนหญิงชาย)
2.       จัดอบรม สัมมนา และดูงานแก่ผู้นำเยาวชน (คำนึงถึงสัดส่วนหญิงชาย)

7) ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อรักษา ปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และความเสมอภาคทัดเทียมให้เป็นไปตามหลักสากล และกฎหมายบ้านเมือง
2.       เพื่อลดความรุนแรงในการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยใช้แนวทางสันติวิธี
กิจกรรม
1.       จัดอบรม สัมมนาด้านสิทธิมนุษยชน และกฎหมาย
2.       ให้คำปรึกษา และความช่วยเหลือด้านกฎหมาย
3.       ผลิตสื่อความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน และสื่อกฎหมาย
4.       ศึกษา และเสนอแนะให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
5.       จัดที่พักฉุกเฉิน

ยุทธศาสตร์ที่ 4  สร้างประชาคมเข้มแข็ง
แผนงานและโครงการ
1) ส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มและเครือข่าย
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อสร้างแนวร่วมในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
2.       เพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ระหว่างกัน
กิจกรรม
1.       จัดประชุม สัมมนา ดูงานแก่ผู้นำ
2.       จัดทำข้อมูลเครือข่าย
3.       ประสานงานและหนุนเสริม
4.       จัดประชุมผู้นำม้งทั่วประเทศทุก 2 ปี (คำนึงถึงสัดส่วนหญิงชาย)

2) สร้างความภูมิใจในความเป็นชนเผ่า
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อรักษาและสืบทอดเอกลักษณ์ความเป็นชนเผ่า
2.       เพื่อเป็นศูนย์รวมในการเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
กิจกรรม
1.       ยกย่องผู้นำทางพิธีกรรม และผู้รู้ในท้องถิ่นด้านสาขาต่างๆ เช่น สิ่งแวดล้อม เยาวชน พ่อบ้านแม่บ้านตัวอย่าง ประเพณีวัฒนธรรม การบริการสังคม ผู้เสียสละ เป็นต้น โดยการให้รางวัล หรือประกาศเกียรติคุณ
2.       จัดประชุม สัมมนาแก่ผู้รู้ของท้องถิ่น
3.       จัดประกวด แข่งขันความรู้ทางวัฒนธรรม
4.       จัดงานประเพณีที่สำคัญ

ยุทธศาสตร์ที่ 5 บริหารจัดการองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
แผนงานและโครงการ
1) ศึกษา วิจัยประวัติศาสตร์ทางชาติพันธุ์
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อให้ทราบถึงประวัติ ความเป็นมาของแต่ละชนเผ่า
2.       เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับชนเผ่าให้สังคมยอมรับตามหลักวิชาการ
กิจกรรม
1.       สำรวจ และจัดทำข้อมูล
2.       วิจัย

2) ศึกษา วิจัยภูมิความรู้ของชาติพันธุ์
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อให้ทราบถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ของแต่ละชนเผ่าในการดำรงชีวิต
2.       เพื่อหาแนวทางพัฒนาและผสมผสานให้เข้ากับยุคสมัยและองค์ความรู้อื่น
กิจกรรม
1.       สำรวจ และจัดทำข้อมูล
2.       วิจัย

3) พัฒนาหลักสูตรองค์ความรู้และวัฒนธรรมท้องถิ่น
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการจัดการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นที่เหมาะสมกับท้องถิ่น โดยท้องถิ่น และเพื่อท้องถิ่น
2.       เพื่อสร้างการอยู่ร่วมกันอย่างสันติภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายอย่างบูรณาการ
กิจกรรม
1.       สำรวจ และจัดทำข้อมูล
2.       วิจัย

ยุทธศาสตร์ที่ 6 จัดตั้งสถาบันวัฒนธรรมท้องถิ่น
แผนงานและโครงการ
1) ศึกษา และจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมม้งแห่งประเทศไทย
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อเป็นแหล่งรวบรวม และจัดแสดง เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของชนเผ่าม้งในประเทศไทย
2.       เพื่อเป็นแหล่งในการศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของชนเผ่าม้งทั่วไป
กิจกรรม
1.       ศึกษาความเป็นไปได้
2.       หาสถานที่ตั้ง
3.       ระดมทุน

2) สืบทอดองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม
3) รวบรวม แสดงและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมชนเผ่า
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อให้มีการนำเอาศิลปวัฒนธรรมอันดีงามไปใช้อย่างต่อเนื่อง
2.       เพื่อให้สังคมได้เข้าใจถึงศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนวิถีการดำเนินชีวิตของชนเผ่าม้ง
3.       เพื่อเป็นแหล่งในการศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของชนเผ่าม้งทั่วไป
กิจกรรม
1.       จัดอบรม สัมมนา
2.       จัดประกวด แข่งขันความรู้ทางวัฒนธรรม
3.       จัดงานประเพณีที่สำคัญ
4.       รวบรวมสิ่งของ วัตถุ ที่เป็นของชนเผ่าม้ง
5.       จัดแสดงไว้ในศูนย์
6.       แนะนำ ประชาสัมพันธ์ เพื่อเชิญชวนผู้สนใจมาเยี่ยมชมและใช้บริการ

ยุทธศาสตร์ที่ 7 พัฒนาศักยภาพองค์กรให้พึ่งตัวเองได้
แผนงานและโครงการ
1) กองทุนเพื่อการทำงานในระยะยาว
2) โครงการธุรกิจเพื่อการพัฒนา
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อให้การทำงานของสมาคม มีความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จในระยะยาว
2.       เพื่อเป็นหลักประกันถึงความมั่นคง และเกิดความเชื่อมั่นต่อสังคม กลุ่มเป้าหมายในการทำงานเพื่อสังคม
3.       เพื่อยกระดับโครงการพัฒนาให้ตอบสนองต่อความต้องการทางเศรษฐกิจของสมาชิกเป้าหมาย
4.       เพื่อเพิ่มช่องทางการมีรายได้เพื่อการทำงานพัฒนาแก่สมาคมให้มากยิ่งขึ้น
กิจกรรม
1.       ตั้งกองทุน
2.       ทำกล่องรับบริจาคไปตั้งตามสถานที่ต่างๆ
3.       หักรายได้บางส่วนจากสมาคมเข้าสมทบ
4.       เปิดรับบริจาคเป็นการทั่วไป
5.       จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ สหกรณ์ออมทรัพย์
6.       จัดตั้งกลุ่มสหการร้านค้า ห้างร้าน
7.       จัดตั้งกลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

3) ระดมทุน
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อจัดหาเงินทุนให้แก่สมาคม
กิจกรรม
2.       จัดคอนเสริติเพื่อการกุศล
3.       ร่วมกับกลุ่มภาคธุรกิจจัดงานระดมทุน
4.       ขอรับการบริจาคเป็นการทั่วไป โดยมีรางวัล ของที่ระลึก หรือการประกาศเกียรติคุณมอบให้

ยุทธศาสตร์ที่ 8 พัฒนาและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบทบาทหญิงและชาย
แผนงานและโครงการ
1) ส่งเสริมการรวมกลุ่มสตรีทุกระดับ
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อให้สตรีได้เข้ามามีบทบาทและมีส่วนในการพัฒนาและแก้ปัญหาของสตรีด้วยกันเอง
2.       เพื่อสร้างการยอมรับเกี่ยวกับสิทธิสตรี หรือบทบาทหญิงชายให้เกิดขึ้นในสังคมชนเผ่า
กิจกรรม
1.       จัดประชุม สัมมนาแก่ผู้นำกลุ่มสตรี
2.       จัดทำข้อมูลเครือข่าย
3.       ประสานงานและหนุนเสริม

2) ศึกษา วิจัยปัญหาสตรี
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อให้ทราบถึงสภาพ ปัญหาและความต้องการของสตรีชนเผ่า
2.       เพื่อหาแนวทางพัฒนาและแก้ไขปัญหาสิทธิสตรี หรือบทบาทหญิงชายได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของแต่ละชนเผ่า
กิจกรรม
1.       สำรวจ และจัดทำข้อมูล
2.       วิจัย

3) พัฒนาศักยภาพผู้นำสตรี
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อพัฒนาผู้นำสตรีให้มีความรู้ และทักษะในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชน
2.       เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์และองค์ความรู้ใหม่แก่ผู้นำสตรี
กิจกรรม
1.       จัดอบรม สัมมนาแก่สตรี
2.       จัดศึกษาดูงานแก่สตรี
3.       ยกระดับฐานะสตรีด้านต่างๆ ในสังคม เช่น เศรษฐกิจ การศึกษา สุขอนามัย การเป็นผู้นำ เป็นต้น

4) ศูนย์ฮอทไลน์ และบ้านพักฉุกเฉิน
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อเป็นแหล่งให้คำปรึกษาที่ทันต่อเหตุการณ์และสถานการณ์
2.       เพื่อเป็นแหล่งพักชั่วคราวแก่สตรี หรือผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิ
กิจกรรม
1.       ให้คำปรึกษา
2.       ให้ความช่วยเหลือ
3.       จัดที่พักชั่วคราว

หมายเหตุ จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ กำหนดยุทธศาสตร์และทิศทางการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และเด็กกับสตรีในชุมชนม้ง ระหว่างวันที่ 13 – 15 กรกฎาคม 2545 ณ ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ล้านนา อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่

วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ปีใหม่ม้งไทย

ในโอกาสที่กำลังเข้าสู่การฉลองปีใหม่ของชาวม้ง และเริ่มมีการพูดถึงเรื่องปีใหม่ม้งมากขึ้น ผมจึงขอคัดมติที่ว่าด้วยวันปีใหม่ของม้ง จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ กำหนดยุทธศาสตร์และทิศทางการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และเด็กกับสตรีในชุมชนม้ง ระหว่างวันที่ 13 – 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ณ ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ล้านนา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทุกท่านจะได้นำไปศึกษากันต่อไป บางท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าได้มีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้และมีข้อยุติ แล้ว (แต่ในทางปฏิบัติยังไม่ได้ถือใช้อย่างจริงจังเท่าใดนัก เพราะบางหมู่บ้านก็ยังถือปฏิบัติตามแบบที่เขาเคยทำกันมามากกว่าทำตามมติของ ที่ประชุมนี้)
..........
วันขึ้นปีใหม่


วันขึ้นปีใหม่ถือเป็นกิจกรรมทางด้านประเพณีวัฒนธรรมหนึ่งที่ดำเนินการสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ สำหรับชาวม้งแล้ววันขึ้นปีใหม่ที่ถือปฏิบัติและสืบทอดเป็นประเพณีติดต่อกันเรื่อยมา คือ “Noj Peb Caug” “น๊อ เป้ เจา” แต่ปรากฎว่าชาวม้งในประเทศไทยแต่ละหมู่บ้านมีการกำหนดวันปีใหม่ไม่ตรงกัน ทำให้ถูกมองไปในแง่มุมต่างๆ นาๆ ซึ่งชาวม้งเองต่างมีความต้องการอยากให้กำหนดวันขึ้นปีใหม่ม้งให้เป็นวัน เดียวกัน แต่เนื่องจากขาดแกนกลางในการประสานงานกำหนดวันปีใหม่ม้งให้เป็นวันเดียวกัน แต่ละหมู่บ้านต่างก็กำหนดกันเอง ทำให้บางหมู่บ้านกำหนดวันขึ้นปีใหม่ก่อนหลังแตกต่างกันโดยอาศัยเหตุผลของแต่ ละหมู่บ้านเป็นตัวกำหนดในแต่ละปี เช่น ปี พ.ศ. 2546 นี้ชาวม้งที่เข็กน้อย และที่บ้านป่ากลาง กำหนดเป็นวันที่ 5 ธันวาคม 2545 (ขึ้น 1 ค่ำ เดือนหนึ่ง) ส่วนชาวม้งที่หมู่บ้านอื่นในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย กำหนดวันที่ 3 มกราคม 2545 (ขึ้น 1 ค่ำ เดือนสอง)


ที่ประชุมได้มีการอภิปราย และเสนอให้มีการกำหนดวันปีใหม่ของชาวม้งในประเทศไทยโดยมี 2 ข้อเสนอ กล่าวคือ


ข้อเสนอที่ 1 ให้กำหนดวัน 1 ค่ำ เดือนหนึ่ง เป็นวันปีใหม่ของชาวม้งในประเทศไทย


เหตุผล เป็นวันครบรอบตามรอบปีของการนับระยะเวลาตามปีปฏิทิน (ระบบจันทรคติ) ที่คนม้งถือปฏิบัติมาแต่บรรพบุรุษ ส่วนใหญ่จะตรงกับช่วงเวลาปลายเดือนพฤศจิกายน ถึงต้นเดือนธันวาคมในปีปฏิทินสากล (ระบบสุริยคติ) ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม 2545


ข้อเสนอที่ 2 ให้กำหนดวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนสอง เป็นวันปีใหม่ของชาวม้งในประเทศไทย
เหตุผล เพื่อให้สอดคล้องกับฤดูกาลเก็บเกี่ยวและความพร้อมของประชาชนทุกคน เทียบเคียงกับวันลอยกระทง และวันขึ้นปีใหม่ของจีน (ตรุษจีน) นับระยะเวลาตามปีปฏิทิน (ระบบจันทรคติ) ส่วนใหญ่จะตรงกับช่วงกลางเดือนธันวาคม ถึงต้นมกราคมของปีถัดไปในปีปฏิทินสากล (ระบบสุริยคติ) ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 4 มกราคม 2546


มติของที่ประชุม “ให้วันขึ้น 1 ค่ำ เดือนสอง เป็นวันปีใหม่ของชาวม้งในประเทศไทยทุกปีสืบไป สำหรับปีนี้หมู่บ้านใดที่กำหนดเอาไว้เป็นการล่วงหน้าแล้วก็ให้ยืดหยุ่นกันไปตามความเหมาะสม แต่ในปีต่อๆ ไปให้ทุกหมู่บ้านถือใช้เหมือนกัน”


นอกจากนี้ที่ประชุมยังเสนอให้สมาคมฯ ม้ง จัดทำปฏิทินออกเผยแพร่และรณรงค์ให้ชาวม้งทุกคนได้รับทราบ โดยให้มีคณะกรรมการชุดหนึ่งทำหน้าที่กำหนดตรวจสอบดูว่าวันปีใหม่ม้งตามมตินี้จะตรงกับวันใดในปีปฏิทินสากล แล้วประกาศให้ทุกคนทราบเป็นการล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ปี
..........
ยงยุทธ