yongyuthyang.blogspot.com

วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ปีใหม่ม้งไทย

ในโอกาสที่กำลังเข้าสู่การฉลองปีใหม่ของชาวม้ง และเริ่มมีการพูดถึงเรื่องปีใหม่ม้งมากขึ้น ผมจึงขอคัดมติที่ว่าด้วยวันปีใหม่ของม้ง จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ กำหนดยุทธศาสตร์และทิศทางการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และเด็กกับสตรีในชุมชนม้ง ระหว่างวันที่ 13 – 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ณ ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ล้านนา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทุกท่านจะได้นำไปศึกษากันต่อไป บางท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าได้มีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้และมีข้อยุติ แล้ว (แต่ในทางปฏิบัติยังไม่ได้ถือใช้อย่างจริงจังเท่าใดนัก เพราะบางหมู่บ้านก็ยังถือปฏิบัติตามแบบที่เขาเคยทำกันมามากกว่าทำตามมติของ ที่ประชุมนี้)
..........
วันขึ้นปีใหม่


วันขึ้นปีใหม่ถือเป็นกิจกรรมทางด้านประเพณีวัฒนธรรมหนึ่งที่ดำเนินการสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ สำหรับชาวม้งแล้ววันขึ้นปีใหม่ที่ถือปฏิบัติและสืบทอดเป็นประเพณีติดต่อกันเรื่อยมา คือ “Noj Peb Caug” “น๊อ เป้ เจา” แต่ปรากฎว่าชาวม้งในประเทศไทยแต่ละหมู่บ้านมีการกำหนดวันปีใหม่ไม่ตรงกัน ทำให้ถูกมองไปในแง่มุมต่างๆ นาๆ ซึ่งชาวม้งเองต่างมีความต้องการอยากให้กำหนดวันขึ้นปีใหม่ม้งให้เป็นวัน เดียวกัน แต่เนื่องจากขาดแกนกลางในการประสานงานกำหนดวันปีใหม่ม้งให้เป็นวันเดียวกัน แต่ละหมู่บ้านต่างก็กำหนดกันเอง ทำให้บางหมู่บ้านกำหนดวันขึ้นปีใหม่ก่อนหลังแตกต่างกันโดยอาศัยเหตุผลของแต่ ละหมู่บ้านเป็นตัวกำหนดในแต่ละปี เช่น ปี พ.ศ. 2546 นี้ชาวม้งที่เข็กน้อย และที่บ้านป่ากลาง กำหนดเป็นวันที่ 5 ธันวาคม 2545 (ขึ้น 1 ค่ำ เดือนหนึ่ง) ส่วนชาวม้งที่หมู่บ้านอื่นในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย กำหนดวันที่ 3 มกราคม 2545 (ขึ้น 1 ค่ำ เดือนสอง)


ที่ประชุมได้มีการอภิปราย และเสนอให้มีการกำหนดวันปีใหม่ของชาวม้งในประเทศไทยโดยมี 2 ข้อเสนอ กล่าวคือ


ข้อเสนอที่ 1 ให้กำหนดวัน 1 ค่ำ เดือนหนึ่ง เป็นวันปีใหม่ของชาวม้งในประเทศไทย


เหตุผล เป็นวันครบรอบตามรอบปีของการนับระยะเวลาตามปีปฏิทิน (ระบบจันทรคติ) ที่คนม้งถือปฏิบัติมาแต่บรรพบุรุษ ส่วนใหญ่จะตรงกับช่วงเวลาปลายเดือนพฤศจิกายน ถึงต้นเดือนธันวาคมในปีปฏิทินสากล (ระบบสุริยคติ) ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม 2545


ข้อเสนอที่ 2 ให้กำหนดวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนสอง เป็นวันปีใหม่ของชาวม้งในประเทศไทย
เหตุผล เพื่อให้สอดคล้องกับฤดูกาลเก็บเกี่ยวและความพร้อมของประชาชนทุกคน เทียบเคียงกับวันลอยกระทง และวันขึ้นปีใหม่ของจีน (ตรุษจีน) นับระยะเวลาตามปีปฏิทิน (ระบบจันทรคติ) ส่วนใหญ่จะตรงกับช่วงกลางเดือนธันวาคม ถึงต้นมกราคมของปีถัดไปในปีปฏิทินสากล (ระบบสุริยคติ) ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 4 มกราคม 2546


มติของที่ประชุม “ให้วันขึ้น 1 ค่ำ เดือนสอง เป็นวันปีใหม่ของชาวม้งในประเทศไทยทุกปีสืบไป สำหรับปีนี้หมู่บ้านใดที่กำหนดเอาไว้เป็นการล่วงหน้าแล้วก็ให้ยืดหยุ่นกันไปตามความเหมาะสม แต่ในปีต่อๆ ไปให้ทุกหมู่บ้านถือใช้เหมือนกัน”


นอกจากนี้ที่ประชุมยังเสนอให้สมาคมฯ ม้ง จัดทำปฏิทินออกเผยแพร่และรณรงค์ให้ชาวม้งทุกคนได้รับทราบ โดยให้มีคณะกรรมการชุดหนึ่งทำหน้าที่กำหนดตรวจสอบดูว่าวันปีใหม่ม้งตามมตินี้จะตรงกับวันใดในปีปฏิทินสากล แล้วประกาศให้ทุกคนทราบเป็นการล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ปี
..........
ยงยุทธ

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

กิจกรรมวันขึ้นปีใหม่ของไทย ไม่ว่าที่ไหนก็ดีไปหมดเลยนะครับ